มอก. 3198-2564 ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการเคลือบชุบสังกะสี
โดยกรรมวิธีจุ่มร้อน ให้เป็นความรู้

ชุบสังกะสีให้ได้มาตรฐานทำความเข้าใจเบื้องต้นกับมอก. 3198-2564

ชุบสังกะสี

อย่างที่ทราบกันดีว่ากรรมวิธีการชุบสังกะสีของผลิตภัณฑ์เหล็กนั้นเริ่มเป็นที่นิยมในการชุบสังกะสีกับโรงชุบสังกะสีมากยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทั้งผู้ใช้บริการชุบสังกะสีหรือโรงชุบสังกะสีที่รับชุบสังกะสีต้องรู้ถึง มอก. ที่เป็นข้อกำหนดมาตรฐานสำหรับการเคลือบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อนเพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าการชุบสังกะสี สามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาภายหลังการใช้งาน

ทำความรู้จักกับ มอก. 3198-2564

มอก. หรือที่ย่อมาจาก มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งถูกจัดทำขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสถาบันเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เนื่องจากผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่นิยมในการใช้ชุบสังกะสีอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเหล็กกล้าชิ้นงานเดี่ยว, ชิ้นส่วนประกอบ, ชิ้นงานเหล็กที่เกิดจากการทุบหรือการหล่อ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เหล็กที่เป็นฮาร์ดแวร์ต่างๆ เพื่อให้มีความเป็นมาตรฐานในการชุบสังกะสีของโรงชุบสังกะสี จึงจำเป็นต้องมีข้อกำหนดที่เป็นข้อปฏิบัติที่เหมาะสมให้เป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่จำเป็นต้องนำผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการชุบสังกะสีนี้นำไปใช้งานในภายหลังปราศจากปัญหาที่จะตามมาหากเกิดการชุบสังกะสีที่ไม่มีประสิทธิภาพ

 

ขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับ มอก. 3198-2564

สำหรับมอก. 3198-2564 นั้นขอบข่ายที่เกี่ยวข้องจะครอบคลุมข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการชุบสังกะสีโดยกรรมวิธีจุ่มร้อนสำหรับชิ้นงานผลิตภัณฑ์อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์เหล็ก, ชิ้นส่วนงานผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ และยังมีขอบข่ายที่รวมถึงการซ่อมแซมพื้นที่ผิวที่เคลือบไม่ติดและพื้นที่ชั้นเคลือบเกิดความเสียหายจากการชุบสังกะสีที่จำเป็นต้องมีการซ่อมแซมเพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการต้านทานการกัดกร่อน แต่สำหรับ มอก. 3198-2564 นี้จะไม่ครอบคลุมถึงข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการชุบสังกะสีโดยกรรมวิธีแบบต่อเนื่อง

 

ชิ้นงานผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทที่อยู่ในข้อกำหนด มอก. 3198-2564

สำหรับการชุบสังกะสีด้วยชิ้นงานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเหล็กต่างๆ เราสามารถทำความรู้จักให้มากขึ้นโดยตรงที่เกี่ยวกับ มอก. 319802453 ดังนี้

  • ชิ้นงานผลิตภัณฑ์เหล็ก ชิ้นงานผลิตภัณฑ์เหล็กขนาดใหญ่หรือก็คือชิ้นงานผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีขนาดด้านใดด้านหนึ่งเกิน 1 m
    • ชิ้นงานผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าที่ไม่ใช่ชิ้นงานที่ต้องมีงานประกอบ หรือยังไม่ได้นำมาประกอบ (unfabricated steel) เช่น เหล็กกล้าทรงแบน, เหล็กกล้าทรงยาวต่างๆ
    • ชิ้นงานผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นมาจากการประกอบเหล็กกล้าต่างๆ หรือที่เรียกว่าชิ้นงานประกอบ (fabricated steel products)
    • ชิ้นงานผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกรรมวิธีผ่านการหล่อหรือการทุบ เช่น เหล็กหล่อ, เหล็กกล้าหล่อ, เหล็กทุบ
  • ชิ้นงานผลิตภัณฑ์เหล็กขนาดเล็กหรือก็คือชิ้นงานผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีขนาดทุกมิติไม่เกิน 1 m
  • ชิ้นงานผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ เช่น สลักเกลียว, แป้นเกลียว, แหวน


ข้อกำหนดที่สำคัญในการชุบสังกะสีของ มอก. 3198-2564

สำหรับการชุบสังกะสีที่เราใช้บริการผ่านโรงชุบสังกะสีจะมีข้อกำหนดที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการชุบสังกะสีโดยตรงได้แก่

  • ก่อนการชุบสังกะสี ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการชุบสังกะสีมีความจำเป็นต้องระบุรายละเอียดสำคัญ
    ที่เกี่ยวกับ รายละเอียดประเภท, ระดับชั้นเคลือบ, ระดับของสารปนเปื้อนที่ผิวของชิ้นงานผลิตภัณฑ์เหล็กและการออกแบบ เพื่อให้ผู้ที่จะทำการชุบสังกะสีสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปชุบสังกะสีให้เกิดประสิทธิภาพตรงกับสิ่งที่ผู้ร้องขอต้องการมากที่สุด เพราะส่วนประกอบทางเคมีของเหล็กอย่างเช่น คาร์บอน, ซิลิคอน, ฟอสฟอรัส ในแต่ละระดับชั้นเคลือบที่มีการระบุมวล, รูปร่าง, ความโค้ง, ความลึกในการขึ้นรูปเย็นของชิ้นงานล้วนส่งผลต่อลักษณะทั่วไปและความของชั้นเคลือบทั้งสิ้น นอกจากนี้ผู้ออกแบบ ผู้ทำ และผู้ชุบสังกะสี ควรจำเป็นต้องแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันถึงกระบวนการออกแบบและการชุบสังกะสี เพื่อลดปัญหาข้อบกพร่องที่อาจจะเกิดจากกระบวนการชุบสังกะสี
     

  • กรณีเกิดข้อผิดพลาด เนื่องจากชิ้นงานได้รับการชุบสังกะสีมีแนวโน้มที่จะเกิดความเสียหายระหว่างการชุบสังกะสีได้
    เช่นการแตก แบบเปราะ เนื่องจากส่วนประกอบทางเคมีของชิ้นงานผลิตภัณฑ์หรือการที่ผลิตภัณฑ์นั้นไม่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนสำหรับการช่วยป้องกันการแตกแบบเปราะระหว่างการชุบสังกะสี หากกรณีเกิดข้อผิดพลาดในกรณีข้างต้นนี้ เจ้าของผลิตภัณฑ์ ผู้ออกแบบหรือผู้ทำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องยอมรับความเสียหายที่เกิดขึ้น
     
  • การซ่อมแซม ภายหลังจากการชุบสังกะสี ให้ซ่อมแซมผิวที่ไม่ถูกการเคลือบ
    โดยใช้สีที่มีส่วนผสมของผงสังกะสี ทาหรือพ่นบริเวณผิวที่เคลือบไม่ติดตามกำหนดไว้ เว้นในกรณีที่ผู้ออกแบบหรือผู้สั่งทำชิ้นนั้นระบุให้ไม่ต้องซ่อมแซมพื้นที่ที่ไม่ถูกเคลือบนั้นโดยบริเวณที่จะซ่อมแซมมีข้อกำหนดที่สำคัญประกอบไปด้วย

  • ชิ้นส่วนที่มีเกลียวในชิ้นงานประกอบ ผู้ชุบสังกะสีต้องไปนำส่วนที่เป็นเกลียวหลังการชุบสังกะสีไปตัด, รีดหรือตกแต่งผิว
    ด้วยเครื่องมีที่จะลดหรือเพิ่มจำนวนหรือมิติของเกลียวให้เปลี่ยนไป นอกเสียจากว่าได้รับอนุญาตจากผู้ออกแบบหรือผู้สั่งทำ แต่สามารถทำความสะอาดเกลียวหรือตกแต่งร่องเกลียวภายหลังจากการชุบสังกะสีได้
     
    • สามารถยอมให้ความกว้างหรือยาวของพื้นที่ที่ผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นชุบสังกะสีไม่ติดมากกว่า 25 mm ได้เพียงแค่ด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้
    • พื้นที่รวมสำหรับการซ่อมแซมทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ต้องไม่มากกว่า 0.5% ของพื้นที่ผิวเคลือบทั้งหมด
    • หากบริเวณที่จะซ่อมแซมไม่เป็นไปตาม 2 กรณีด้านบน หรือไม่สามารถเข้าถึงการซ่อมแซมตัวผลิตภัณฑ์ได้ ให้ถือว่าการชุบสังกะสีผลิตภัณฑ์ ในครั้งนั้นไม่ผ่านเกณฑ์ มอก. 3198-2564 และมีความจำเป็นต้องนำผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นไปผ่านการชุบสังกะสีใหม่
       

เราจะเห็นได้ว่าสำหรับการชุบสังกะสีนั้นเ ผู้ชุบสังกะสี หรือ ผู้รับงานการชุบสังกะสีไปใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่มีปัญหาภายหลังการใช้งาน จึงทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างผู้ออกแบบ ผู้สั่งทำการชุบสังกะสี รวมไปถึงผู้ชุบสังกะสี ควรมีความเข้าใจ มอก. 3198-2564 เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการชุบสังกะสีของเรานั้นมีประสิทธิภาพสำหรับการนำไปใช้งานมากที่สุด

และสำหรับท่านใดที่กำลังมองหา ผู้ให้บริการโรงชุบสังกะสีที่เชี่ยวชาญด้านการชุบสังกะสีการเลือกใช้บริการจาก แสงเจริญ กัลวาไนซ์กรุ๊ป ผู้ให้บริการด้านชุบสังกะสี ชุบกัลวาไนซ์ ชุบเคลือบผิวโลหะ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการชุบสังกะสีโดยเฉพาะ มีขั้นตอนปฏิบัติงานที่เป็นไปตาม มอก. 3198-2564 ทุกขั้นตอน ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถมั่นใจได้ถึงมาตรฐานในการทำงาน ผลลัพธ์ของผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมยังมีทีมงานมืออาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านการชุบสังกะสีโดยเฉพาะ ที่สามารถให้บริการคำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจใช้บริการชุบสังกะสีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตรงกับความต้องการ ใช้งานผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


สนใจบริการหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร : 02-599-4115, 081-839-3049
LINE ID : @SCGgalvanize
Facebook : @Sangchareongroup